September 15, 2008

ความน่าเชื่อถือกระบวนการยุติธรรมของไทยในสายตาชาวโลก

Posted in Uncategorized at 4:37 am by freethai

ความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของไทยในสายตาชาวโลก

สำนักข่าวเอเยนต์ฟรานซ์ : 14 กันยายน 2008 : ฮ่องกงมีกระบวนการยุติธรรมที่ดีที่สุดในเอเชียจากการตรวจสอบความเห็นของภาคธุรกิจ

 

ฮ่องกงและสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคนี้มีกระบวนการยุติธรรมที่ดีที่สุดในเอเชียในขณะที่อินโดเนเชียและเวียดนามมีกระบวนการยุติธรรมที่แย่ที่สุดซึ่งเป็นผลรายงานของการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในภูมิภาคนี้

 

ระบบศาลยุติธรรมเป็นจุดอ่อนที่สุดและเป็นสถาบันที่มีข้อโต้แย้งมากที่สุดของอินโดนีเซีย และคนจำนวนมากก็คิดว่าการที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เป็นปัญหาอันดับที่หนึ่งของประเทศ เป็นคำกล่าวในรายงานของ Political and Economic Risk Counsultancy หรือ PERC

 

คำวินิจฉัยของศาลในอินโดเนเชียบางเรื่องเป็นเรื่องที่ สร้างข้อโต้แย้งมากจนกระทั่งส่งผลร้ายต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศ PERC ได้ระบุในรายงานโดยไม่ได้ระบุรายละเอียดของคดี

 

ในรายงานการสำรวจของ PERC กระบวนการยุติธรรมของฮ่องกงได้คะแนนเสียงสูงสุดด้วยคะแนน 1.45 โดยคะแนน 0 เท่ากับที่ดีที่สุด และ 10 เท่ากับแย่ที่สุด

 

คู่แข่งในภูมิภาคอย่างสิงคโปร์ตามมาเป็นที่สองด้วยคะแนน 1.92 ตามด้วยญี่ปุ่น (3.50) เกาหลีใต้ (4.62) ไต้หวัน (4.93) ฟิลิปปินส์ (6.10)

 

มาเลเซียได้ที่ 7 ด้วยคะแนน 6.74 ตามด้วยอินเดีย (6.50) ไทย (7.0) และจีน (7.25) อินโดเนเชียได้คะแนนต่ำที่สุดคือ 8.26 โดยเวียดนามได้รองบ๊วยด้วยคะแนน 8.10

 

บริษัทที่ปรึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกงบอกว่าได้ทำการสอบถามผู้บริหารเอกชนระดับสูงรวม 1,537 คนที่ทำงานอยู่ในทวีปเอเชียและขอให้พวกเขาให้คะแนนกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่พวกเขาพักอาศัยโดยใช้ตัวแปรต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น การคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาและการคอร์รัปชั่น

 

นอกจากนี้ยังขอให้พิจารณาประเด็นเรื่องความโปร่งใส การบังคับใช้กฎหมาย ความเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองและประสบการณ์และมาตรฐานการศึกษาของทนายและผู้พิพากษาประกอบด้วย

 

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การสำรวจทัศนคติได้แสดงผลว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างมากระหว่างปัจจัยว่าผู้บริหารต่างชาติประเมินกระบวนการยุติธรรมอย่างไร และปัจจัยที่ว่าพวกเขาประเมินความเปิดกว้างในทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ อย่างไร PERC กล่าว

 

กระบวนการยุติธรรมที่ดีกว่ามีความเชื่อมโยงกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การคอร์รัปชั่นที่ลดลงและเศรษฐกิจที่มีความมั่งคั่งมากกว่า

 

ทัศนคติที่เป็นไปในเชิงลบต่อกระบวนการยุติธรรมของจีนและเวียดนามมาจากการที่ระบบของสองประเทศนี้ถูกแทรกแซงทางการเมือง รายงานของ PERC กล่าวและเสริมว่าพรรคคอมมิวนิสต์ อยู่เหนือกฎหมายในทั้งสองประเทศ

 

แม้ว่าอินเดียและฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นประเทศในระบอบประชาธิปไตย ผู้บริหารต่างชาติกลับไม่ได้มีทัศนคติที่ดีต่อสองประเทศนี้เพราะปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น PERC เสริม

 

กระบวนการยุติธรรมของมาเลเซียได้รับผลจาก การเสื่อมเสียชื่อเสียงเพราะการถูกแทรกแซงทางการเมือง ในขณะที่ผู้บริหารต่างชาติที่อยู่ในไทยต่างก็ มีความสงสัยอย่างจริงจัง ว่าการที่เพิ่มอำนาจให้ตุลาการจะเป็นสิ่งที่ดีต่อประเทศจริงหรือไม่ รายงานดังกล่าวเสนอ

 

PERC ตั้งข้อสังเกตว่าการสำรวจความเห็นนี้เป็นการสำรวจความเห็นของผู้บริหารองค์กรธุรกิจไม่ใช่กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมทางการเมือง ดังนั้นจึงมีการให้ความสำคัญมากกว่าในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายเรื่องสัญญา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ความเอนเอียงจะเห็นชัดเจนมากในกรณีของสิงคโปร์ รายงานระบุโดยยอมรับว่าคะแนนที่สูงมากของสิงคโปร์ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์พรรครัฐบาลว่าแทรกแซงตุลาการเพื่อการยุติเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ในสิงคโปร์ ทัศนคติโดยทั่วไปของผู้บริหารต่างชาติก็คือการเมืองท้องถิ่นไม่ได้ลดหรือมีผลกระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายพาณิชย์และกฎหมายอาญา รายงานของ PERC ระบุ

 

Leave a comment