September 8, 2008

วิกฤตใหม่การเมืองไทยเพราะพวกนิยมเจ้าและขุนนาง

Posted in Uncategorized at 6:38 am by freethai

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ วันที่ 6 กันยายน 2008

วิกฤตใหม่ของประเทศไทย: เมื่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่อ้างว่าทำเพื่อประชาธิปไตยได้ประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการทำลายประชาธิปไตยของไทย

ข่าวดีเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยก็คือ ในขณะที่จำนวนของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้เพิ่มมากขึ้น และหยั่งรากลึกไปในประเทศต่างๆทั่วโลกตลอดระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา คนยากจนและคนพื้นเมืองส่วนน้อยที่ถูกละเลยในหลายๆประเทศเริ่มมีอำนาจมากขึ้น  ในประเทศอย่างบราซิล อินโดเนเชียและเมกซิโก รัฐบาลได้หันมายอมรับนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือกับชนกลุ่มนี้มากขึ้น และมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนเหล่านี้ก็ดีขึ้น

แต่ข้อเสียก็คือการขยายตัวของระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยแบบนี้ในบางประเทศ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องของวัฒนธรรม หรือมาตรฐานทางชนชั้น ซึ่งที่ผ่านมาได้บดบังเสรีภาพของประชาชน  ในบางประเทศเช่น เวเนซูเอลา และโบลิเวีย ผู้ใช้นโยบายประชานิยมเพื่อช่วยเหลือคนจนหรือคนพื้นเมืองที่ด้อยโอกาศที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทส สามารถชนะการเลือกตั้งได้  หลังจากนั้น ก็มีการใช้อำนาจเพื่อสร้างอำนาจให้กลุ่มของตนและกำจัดการแข่งขันจากกลุ่มชนชั้นสูงหัวเก่า  เรามีความเห็นมากมายว่า ฮิวโก้ ชาเวซแห่งเวเนซูเอลา และ อีโว โมราเลสแห่งโบลิเวียได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศของพวกเขามากน้อยแค่ไหน

แต่อันตรายที่คู่ขนานกันไปก็มาจากกลุ่มชนชั้นสูงที่ตอบโต้การแสวงหาสิทธิและอำนาจทางการเมืองของชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มนอดีตที่ผ่านมาถูกกีดกันจากอำนาจทางการเมือง โดยใช้วิธีการตรวจสอบความเป็นประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่ของประเทศค่องการ  และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในตุรกี เมื่อกลุ่มอำนาจชั้นสูงที่ครองอำนาจมานาน ได้พยายามใช้ทั้งกำลังทหารและผู้พิพากษาในการยกเลิกและไม่ยอมรับชัยชนะจากการเลือกตั้งที่พรรคอิสลามิค เอเค ได้รับคะแนนเสียง  และเรื่องราวที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากก็กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศต้องประสพภาวะชะงักงันเพราะวิกฤตทางการเมืองเป็นครั้งที่สอง ภายในเวลาไม่ถึงสองปี

ศูนย์กลางของความขัดแย้งของประเทศไทยเป็นผลมาจาก กระบวนการทางการเมืองที่เริ่มต้นด้วยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อดีตอภิมหาเศรษฐี ที่หันมาเป็นนักการเมืองผู้ได้รับความนิยมจากประชาชน เขาชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายถึงสองครั้งเพราะนโยบายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือคนยากจนในชนบท  ถ้ากล่าวแบบกว้างๆ ทักษิณ สามารถสร้างผลงานได้ตามนโยบายที่เสนอไว้ตอนหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นโครงการประกันสุขภาพราคาถูก โครงการสินเชื่อสำหรับชาวนา  แต่ในเวลาเดียวกัน เขาก็ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ เข้มงวดกับสื่อมวลชน และปล่อยให้กองทัพและตำรวจทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อสองปีที่แล้ว มีขบวนการต่อต้านทักษิณที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองเก่าแก่โดยอ้างว่าเป็นกระบวนการเพื่อปกป้องประชาธิปไตย กรุงเทพต้องเป็นอัมพาตเพราะการประท้วง และในที่สุด การประท้วงก็นำไปสู่การรัฐประหาร  และเป็นไปตามที่คาด  บรรดานายพลทั้งหลายก็พบว่าพวกเขาไม่มีปัญญาที่จะบริหารประเทศ และเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ต้องยอมให้มีการเลือกตั้ง และก็เป็นไปดังที่คาดการณ์กัน พรรคการเมืองของทักษิณที่มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ และมีผู้นำพรรคคนใหม่ ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชนชั้นสูงที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพได้พยายามจะล้มรัฐบาลโดยการใช้กำลัง  คนนับพันเข้าไปยึดที่ทำการรัฐบาล ก่อการปะทะอย่างรุนแรงอันส่งผลให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศสภาวะฉุกเฉิน  พวกก่อความไม่สงบนี้กลับเรียกตัวเองว่าเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”  แต่คราวนี้สิ่งที่ผู้นำบางคนของกระบวนการนี้เรียกร้องกลับเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตย นั่นก็คือการกลับสู่การเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชเต็มรูปแบบ หรือมิฉนั้นก็เป็นการปกครองแบบเผด็จการทหารที่ได้รับการสนับสนุนโดยข้าราชการชั้นสูง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันกระบวนการทางการเมืองของทักษิณให้พ้นจากอำนาจ

เป็นเรื่องโชคดีที่ผู้นำกองทัพของไทยดูเหมือนจะได้เรียนรู้บางอย่างจากความล้มเหลวในการทำรัฐประหารคราวที่แล้ว  ผู้นำกองทัพคนปัจจุบัยปฏิเสธที่จะทำการรัฐประหาร แม้ว่าในเวลาเดียวกัน เขาก็ปฏิเสธที่จะใช้อำนาจตามกฏหมายเรื่องสภาวะฉุกเฉิน และไม่ยอมสลายการชุมนุม  สมัครได้ยืนยันท่ามกลางกระแสกดดันที่จะไม่ลาออก แต่ในขณะเดียวกัน กลับจะเสนอให้มีการลงประชามติทั่วประเทศว่าเขาควรอยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่  ดังนั้น แปลว่าหน้าที่ในการยุติวิกฤตการณ์นี้ตกเป็นภาระของฝ่ายค้าน คนที่อยู่ในฝ่ายค้านที่มีความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงจะต้องแสดงออกเท่าๆกับสมาชิกของกลุ่มที่กำเนินการเพื่อการทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยอยู่

http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2008/09/05/AR2008090503718.html

Leave a comment